ความรู้เบื้องต้น การปลูกพืชไร้ดิน
การปลูกพืชไร้ดินหลายคนอาจจะนึกถึงการปลูกที่รากต้องแช่ในน้ำผสมสารละลายเท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้วการปลูกพืชไร้ดิน มีความหมายรวมถึงการปลูกพืชในวัสดุปลูกอื่นๆ ที่นำมาใช้ทดแทนการปลูกด้วยดิน
รูปแบบของการปลูกพืชไร้ดิน หรือการปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์
สามารถแบ่งตามลักษณะเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1.ระบบรากแช่อยู่ในสารละลาย (Liquid Culture)
-ระบบน้ำตื้น (Nutrient film technique)
-ระบบน้ำลึก (Deep Flow Technique)
– ระบบกึ่งน้ำลึก (Dynamic Root Floating Technique )
– ระบบอควาโปนิกส์ (Aqua Ponics)
2.ระบบลอยในอากาศ (Aero Ponics)
- ปลูกในวัสดุปลูก (Substrate Culture)
– วัสดุธรรมชาติ
– วัสดุที่สังเคราะห์ขึ้น
การปลูกพืชไร้ดิน ได้รับการพัฒนาขึ้นมา เพราะปัญหาการปลูกพืชในโรงเรือนโดยใช้ดิน ที่มีความยุ่งยาก และสิ้นเปลืองแรงงาน รวมไปถึงมีการระบาดของโรคและแมลงได้ง่าย ดังนั้น จึงต้องพิจารณาตัดสินใจตามสภาพปัญหา ชนิดและราคาของพืชตามความเหมาะสมในแต่ละสถานที่ อย่างไรก็ตามการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน โดยทั่วไปก็มีข้อดีและข้อจำกัดในตัวเองดังต่อไปนี้
ข้อดีของการปลูกพืชไร้ดิน
- สามารถทำการเพาะปลูกพืชในบริเวณพื้นที่ที่ดินไม่ดี เช่น ดินกรดจัด เค็มจัด ดินเสื่อโทรม ขาดความอุดมสมบูรณ์ หรือแม้แต่ในสถานที่ที่ไม่มีดินเลย เช่น พื้นคอนกรีตรอบบ้าน ระเบียงบ้าน เป็นต้น
- สามารถควบคุมการปลูกพืชได้จำนวนต้นต่อพื้นที่ได้มากขึ้นโดยไม่ต้องคำนึงถึงความอุดมสมบูรณ์ของดิน เพราะพืชไม่ต้องแย่งน้ำและสารอาหารระหว่างกัน
- ได้ผลผลิตในการปลูกสูง มีคุณภาพดี ไม่ค่อยมีร่องรอยการทำลายของโรคแมลง และน้ำที่ใช้ในการผลิตเป็นน้ำที่สะอาดจึงสามารถลดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ลงได้ด้วย
- ประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่าย สามารถปลูกพืชกันอย่างต่อเนื่องได้ตลอดปี ในพื้นที่เดียว
- สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืชได้อย่างถูกต้องแน่นอน และรวดเร็ว โดยเฉพาะในระดับรากพืช ได้แก่ การควบคุมปริมาณธาตุอาหาร ความเป็นกรด – ด่าง อุณหภูมิ ฯลฯ ซึ่งการปลูกพืชทั่วไปทำได้ยาก
- เป็นทางเลือกให้กับการเกษตรยุคใหม่
ข้อจำกัดของการปลูกพืชไร้ดิน
ผู้ปลูกต้องศึกษาทำความเข้าใจในระบบการปลูกให้ดีเสียก่อน และมีประสบการณ์มากพอสมควร ในการควบคุมดูแลพัฒนาผลผลิตให้ดีขึ้น
ตัวอย่างการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์โดยใช้ “รางปลูก”
ประหยัดพื้นที่ ประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย