ประวัติความเป็นมาของการปลูกพืชไร้ดิน

การปลูกพืชแบบไร้ดินมีมานานแล้ว  สวนลอยฟ้าของบาบิโลน มีจุดกำเนิดอยู่ที่ ฝั่งแม่น้ำยูเฟรติส (ในประเทศอิรัก ในปัจจุบัน) ถูกสร้างขึ้นในปี 372-287 ก่อนคริสต์ศักราช  ระเบียงทุกชั้นจะปลูกประดับด้วยต้นไม้ และดอกไม้ รวมถึงมีการปลูกไม้ยืนต้นชนิดต่างๆ ไว้บนสิ่งก่อสร้างนั้น แต่เป็นที่น่าเสียดายที่สวนลอยฟ้าบาบิโลนนี้ได้พังทลายไปจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช

สำหรับประเทศในแถบเอเชีย  ญี่ปุ่นเป็นชาติแรกที่นำการปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์มาใช้ เป็นเชิงพาณิชย์  ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพสหรัฐอเมริกาซึ่งเข้ายึดครองประเทศญี่ปุ่น  นำเทคนิคนี้มาใช้ปลูกพืชผักเพื่อเป็นอาหาร หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1960 ได้มีการพัฒนาเทคนิคการปลูกพืชในกรวด (gravel culture) ขึ้น นับเป็นเทคนิคการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์แบบแรกที่พัฒนาขึ้นโดยชาวญี่ปุ่น (บริษัท ที เอ บี วิจัยและพัฒนาจำกัด, 2540)

ภาพ โรงเรือน “Hydroponic Farm” ของกองทัพสหรัฐอเมริกาซึ่งสร้างขึ้นที่เมืองโชฟุ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ใช้ปลูกพืชเลี้ยงทหารในกองทัพสหรัฐในระหว่างปี ค.ศ. 1946-1960

การปลูกพืชไฮโดรโปรนิกส์ในประเทศไทย

เมื่อในปี พ.ศ.2526 สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯไปเยือนประเทศญี่ปุ่น และได้ทรงได้ทอดพระเนตรการปลูกพืชแบบไฮโดรโพนิกส์เป็นการค้าซึ่งเป็นระบบ DFT (Deep Flow Technique) สนพระราชหฤทัยเป็นอย่างมาก จึงทรงได้ศึกษาหาแนวทางและความเป็นได้ของเทคโนโลยีด้านนี้เข้ามาใช้ในประเทศไทย
ต่อมาในปี พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญ พระชนมพรรษาครบ 5 รอบ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (F.A.O.) ได้น้อมเกล้าฯ ถวายโครงการวิจัยการปลูกพืชไร้ดินเพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวาระดังกล่าว สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเลือกโครงการวิจัยการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน เพื่อใช้ในการผลิตพืช เน้นการนำเอาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ผ่านทางมหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีพื้นที่วิจัย 3 แห่ง คือ

  1. งานสวนในบริเวณสวนจิตรลดา ซึ่งเป็นพื้นที่วิจัยที่ติดตั้งระบบการปลูกพืชแบบไฮโดรโพนิกส์ มีระบบควบคุมการใส่ปุ๋ย และกรดอัตโนมัติจากประเทศอังกฤษ นำมาทดลองเป็นแห่งแรกในประเทศไทย
  2. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ และภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ แห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
  3. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนโดยมีการค้นคว้าวิจัยระบบการปลูกพืชแบบ Deep Flow Technique , NFT และ substrate culture เพื่อเป็นการเตรียมข้อมูลพื้นฐาน สำหรับสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยเรา เพื่อนำไปใช้ปลูกในเขตพื้นที่ที่ดินมีปัญหา อันอาจเป็นประโยชน์ต่อโครงการพัฒนาการเกษตรของไทยในอนาคต หลังจากนั้นมาก็มีการวิจัยโดยนักวิจัยจากหลายสถาบัน เช่น
  • ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย
  • ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • มหาวิยาลัยแม่โจ้  จ.เชียงใหม่
  • กองบำรุงรักษาราชอุทยาน สำนักพระราชวังและสถานีเกษตรหลวงของมูลนิธิโครงการหลวง

ทำให้ประเทศไทยมีการตื่นตัวในการปลูกพืชไฮโดรโปรนิกส์เป็นอย่างมาก โดยการปลูกผักวิธีนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากอเพราะใช้พื้นที่น้อย เมื่อเทียบกับการปลูกลงดิน และยังสามารถควบคุมแมลงศัตรูพืชได้ ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวด้านเทคโนโลยีพืชในน้ำ หลังจากนั้นมีฟาร์มแบบสมัยใหม่เกิดขึ้นมาอีกหลายแห่ง ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด

 

ที่มาhttps://www.baanjomyut.com/

 

ประวัติความเป็นมาของการปลูกพืชไร้ดิน
แชร์ :