การปลูกพืชในวัสดุทดแทนดิน
การปลูกพืชในวัสดุทดแทนดิน เป็นการปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์อีกประเภทหนึ่งโดยไม่ใช้ดิน ทั้งที่เป็นอินทรีย์และอนินทรีย์ต่างๆ ได้แก่ ทราย กรวด ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าวฯลฯ มีลักษณะใกล้เคียงกับการปลูกพืชในดินแบบกระถางหรือในภาชนะโดยใช้น้ำหยดมากที่สุด แต่จะแตกต่างกันตรงที่ถ้าปลูกลงในดินพืชจะได้รับอาหารที่มีอยู่แล้วในดินหรือจากปุ๋ยที่ใส่ให้แต่ละครั้ง และได้รับน้ำจากการให้น้ำแบบน้ำหยด ส่วนถ้าเป็นการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินแบบใช้วัสดุปลูกนั้น พืชจะได้รับธาตุอาหารไปพร้อมๆ กับการให้น้ำหยด เพราะน้ำที่ให้เป็นน้ำสารละลายธาตุอาหารในแบบของการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินนั่นเอง
หัวใจสําคัญของวิธีการปลูกพืชในวัสดุปลูก คือ การให้สารละลายธาตุอาหารในปริมาณและความถี่ที่พอเหมาะกับความต้องการของพืชในแต่ละช่วงอายุการเจริญเติบโต และยังต้องมีวิธีการวางระบบระบายน้ำส่วนเกินออกจากวัสดุปลูกด้วยกัน
การใช้วัสดุปลูกทดแทนดิน ยังสามารถช่วยแก้ไขปัญหาการทำเกษตรในพื้นที่ ที่ดินอยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสมต้องการเพาะปลูก และยังช่วยแก้ปัญหาการขาดออกซิเจนที่รากในพืชต่างๆ
วัสดุปลูกทดแทนการใช้ดินที่นิยมนำมาใช้ได้แก่
1.เพอร์ไลท์ (Perlite)
- แหล่งกำเนิด เผาหินภูเขาไฟด้วยความร้อน 1,200 องศาเซลเซียส
- ค่า pH : 7 – 7.2
- คุณสมบัติการอุ้มน้ำ 250 – 300 ลิตร ต่อเพอร์ไลท์ 1 ลูกบาศก์เมตร
- คุณสมบัติการแลกเปลี่ยนประจุ ไม่มี
- ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่นิยมนำมาใช้ 1.5 – 6 มม.
- ความพรุน 97%
- ความคงทนของโครงสร้าง ดี
- ลักษณะการนำมาใช้ นิยมนำมาใช้วัสดุเพาะเกล้า, เป็นวัสดุปลูก
- อายุการใช้งาน 1 ครั้ง
- ราคา สูง
- ข้อดี การระบายน้ำและอากาศดี, ไม่ทำปฎิกิริยาทางเคมีกับธาตุอาหารพืช, น้ำหนักเบา
เมื่อขยายตัวแล้วมีเสถียรภาพดี มีการยุบตัวน้อย
- ข้อเสีย ราคาค่อนข้างแพง
2.เวอร์มิคูไลท์ (Vermiculite)
- แหล่งกำเนิด เผาแร่ไมก้าด้วยความร้อน 850 องศาเซลเซียส
- ค่า pH : 7 – 7.2
- คุณสมบัติการอุ้มน้ำ 350 – 375 ลิตร ต่อเวอร์มิคูไลท์ 1 ลูกบาศก์เมตร
- คุณสมบัติการแลกเปลี่ยนประจุ 65 – 140 me/100 gm
- ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่นิยมนำมาใช้ 1 – 6 มม.
- ความพรุน 96%
- ความคงทนของโครงสร้าง ไม่ดี
- ลักษณะการนำมาใช้ นิยมนำมาใช้วัสดุผสมเพาะเกล้า
- อายุการใช้งาน 1 ครั้ง
- ราคา สูง
- ข้อดี การระบายน้ำและอากาศดี, อุ้มน้ำได้ดี, น้ำหนักเบา
- ข้อเสีย ราคาค่อนข้างแพง, มีการแลกเปลี่ยนประจุเคมี, โครงสร้างย่อยสลายตัวง่าย
3.ทรายหยาบ
- แหล่งกำเนิด แม่น้ำ
- คุณสมบัติการอุ้มน้ำ ค่อนข้างดี
- คุณสมบัติการแลกเปลี่ยนประจุ ไม่มี
- ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่นิยมนำมาใช้ 0.5 – 2 มม.
- ความพรุน ต่ำ
- ความคงทนของโครงสร้าง ดีมาก
- ลักษณะการนำมาใช้ นิยมนำมาใช้วัสดุกรอง หรือผสมเป็นวัสดุปลูก
- อายุการใช้งาน หลายปี
- ราคา ปานกลาง
- ข้อดี อุ้มน้ำได้ดีกว่ากรวด, ไม่ทำปฎิกิริยาทางเคมีกับธาตุอาหารพืช, อายุการใช้งานนาน, ราคาถูก
- ข้อเสีย มีปัญหาการอัดตัวแน่นเมื่อใช้เป็นเวลานาน, มีน้ำหนักมาก, ความพรุนต่ำ
4.ขุยมะพร้าว
แหล่งกำเนิด ปั่นใยออกจากเปลือกมะพร้าวจะได้เป็นเศษขุยเปลือกด้านในลูกมะพร้าว
– ค่า pH : 6 – 7
– คุณสมบัติการอุ้มน้ำ ได้ดีมาก
– คุณสมบัติการแลกเปลี่ยนประจุ สูงเมื่อขุยมะพร้าวผ่านขบวนการย่อยสลายตัว
– ความพรุน สูง
– ความคงทนของโครงสร้าง ปานกลาง มีการย่อยสลาย
– ลักษณะการนำมาใช้ นิยมนำมาใช้วัสดุผสมเพาะเกล้า, นำมาใช้เป็นวัสดุปลูก
– อายุการใช้งาน 2 – 3 ครั้ง
– ราคา ถูก
– ข้อดี น้ำหนักเบา, อุ้มน้ำได้ดีมาก, ราคาถูก
– ข้อเสีย เมื่อย่อยสลายจะอัดตัวกันแน่นทำให้เกิดปัญหาเรื่องการระบายอากาศ
5.แกลบดิบ
- แหล่งกำเนิด เปลือกหุ้มเมล็ดข้าว
- ค่า pH : 6 – 7
- คุณสมบัติการอุ้มน้ำ น้อย
- คุณสมบัติการแลกเปลี่ยนประจุ ต่ำ
- ความพรุน สูง
- ความคงทนของโครงสร้าง ย่อยสลายง่ายเมื่อถูกน้ำ
- ลักษณะการนำมาใช้ นิยมนำมาใช้วัสดุผสมเพาะเกล้า, วัสดุผสมปลูก
- อายุการใช้งาน 1 – 3 ครั้ง
- ราคา ถูก
- ข้อดี น้ำหนักเบา, ราคาถูก
- ข้อเสีย อุ้มน้ำได้ไม่ดี, โครงสร้างย่อยสลายตัวง่าย, อัดตัวแน่นเมื่อถูกน้ำ
6.ใยหิน (Rockwool)
- แหล่งกำเนิด หลอมหินภูเขาไฟและปั่นให้เป็นเส้นใยผสมสารเรซิน 4 – 5%
- ค่า pH : 7 – 9.5
- คุณสมบัติการอุ้มน้ำ 70 – 80 %
- คุณสมบัติการแลกเปลี่ยนประจุ ไม่มี
- ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่นิยมนำมาใช้ 8 – 16 มม.
- ความพรุน 98%
- ความคงทนของโครงสร้าง ไม่ดี
- ลักษณะการนำมาใช้ นิยมนำมาใช้วัสดุเพาะเกล้า, เป็นวัสดุปลูก , ฉนวนกันความร้อน
- อายุการใช้งาน 1 ครั้ง
- ราคา สูง
- ข้อดี การระบายน้ำและอากาศดีมาก, ไม่ทำปฎิกิริยาทางเคมีกับธาตุอาหารพืช, ความพรุนสูง
- ข้อเสีย ราคาค่อนข้างแพง
7. เม็ดดินเผา (Hydro Clay)
- แหล่งกำเนิด การเผาดินเหนียวที่อุณหภูมิ 1,100 องศาเซลเซียส
- ค่า pH : 5 – 7
- คุณสมบัติการอุ้มน้ำ 14 – 16 %
- คุณสมบัติการแลกเปลี่ยนประจุ ไม่มี
- ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่นิยมนำมาใช้ 8 – 16 มม.
- ความพรุน สูง
- ความคงทนของโครงสร้าง ดีมาก
- ลักษณะการนำมาใช้ นิยมนำมาใช้วัสดุกรอง, เป็นวัสดุปลูก
- อายุการใช้งาน หลายปี
- ราคา สูง
- ข้อดี การระบายอากาศดีมาก, ไม่ทำปฎิกิริยาทางเคมีกับธาตุอาหารพืช, อายุการใช้งานนาน
- ข้อเสีย อุ้มน้ำได้น้อย, มีน้ำหนักมาก, ราคาค่อนข้างแพง
8.หินภูเขาไฟ (Pumice)
- แหล่งกำเนิด : หินภูเขาไฟ
- ค่า pH : 6.5
- คุณสมบัติการอุ้มน้ำ 19%
- คุณสมบัติการแลกเปลี่ยนประจุ ไม่มี
- ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่นิยมนำมาใช้ 3 – 15 มม.
- ความพรุน 73%
- ความคงทนของโครงสร้าง ดีมาก
- ลักษณะการนำมาใช้ วัสดุเพาะชำ, วัสดุผสมปลูก
- อายุการใช้งาน หลายปี
- ราคา ถูก
- ข้อดี มีการระบายน้ำดีมาก, ไม่ทำปฎิกิริยาทางเคมีกับธาตุอาหารพืช, อายุการใช้งานนาน
- ข้อเสีย อุ้มน้ำได้น้อย, มีน้ำหนักมาก